ฟิล์มกระจกเต็มจอดีกว่าแบบไม่เต็มจออย่างไร

ปัญหาโลกแตกที่คนมีโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะสมาร์ตโฟนต้องเจอก็คือ ‘หน้าจอแตก’ แม้จะระมัดระวังในการใช้งานอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่อุบัติเหตุก็มาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัวเสมอ รู้ตัวอีกทีโทรศัพท์ก็ตกหล่นจนหน้าจอแตกแล้ว ลำบากต้องเอาไปซ่อม เสียค่าใช้จ่ายอีกไม่น้อย

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์น่าปวดหัวเช่นนี้ การติดฟิล์มกระจกป้องกันหน้าจอเป็นสิ่งที่ควรลงทุน ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ เพราะค่าฟิล์มถูกกว่าค่าซ่อมหน้าจอแตกหลายเท่าตัว และในปัจจุบันฟิล์มกระจกก็มีให้เลือกทั้งฟิล์มกระจกเต็มจอและฟิล์มกระจกไม่เต็มจอ

เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังชั่งใจอยู่ว่าควรติดฟิล์มกระจกเต็มจอหรือไม่เต็มจอดี บทความนี้จะมาบอกถึงข้อดีข้อเสียของฟิล์มกระจกแต่ละประเภท เพื่อประกอบการตัดสินใจ ติดตามได้เลย

ฟิล์มกระจกเต็มจอ ดียังไง
ฟิล์มกระจกเต็มจอดีกว่าแบบไม่เต็มจออย่างไร 3

ทำความรู้จักฟิล์มหน้าจอแต่ละประเภท

ก่อนจะเปรียบเทียบว่าฟิล์มกระจกเต็มจอหรือไม่เต็มจอ แบบไหนดีกว่ากัน เราควรที่จะรู้ก่อนว่าฟิล์มกันรอยติดหน้าจอโทรศัพท์นั้นมีด้วยกันทั้งหมดกี่ประเภท

  1. ฟิล์มกันรอยแบบใส: ถือเป็นฟิล์มขั้นพื้นฐานที่สุด ป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอได้ด้วยการเคลือบฟิล์มแข็งบาง ข้อดีคือเนื้อฟิล์มติดง่าย ไม่ทำให้ผิวสัมผัสและสีสันของหน้าจอแตกต่างจากเดิม แต่ด้านประสิทธิภาพป้องกันการแตกอาจด้อยกว่าฟิล์มชนิดอื่น ๆ รวมถึงเกิดรอยนิ้วมือ คราบมัน คราบเหงื่อได้ง่าย
  1. ฟิล์มกันรอยแบบด้าน: ถ้าหากรำคาญรอยนิ้วมือ คราบมัน คราบเหงื่อที่เกิดขึ้นได้ง่ายบนฟิล์มกันรอยแบบใส การใช้ฟิล์มกันรอยแบบด้านก็อาจตอบโจทย์มากกว่า นอกจากนั้นยังช่วยลดแสงสะท้อน ทำให้ใช้งานกลางแจ้งได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี และช่วยถนอมสายตา แต่ก็ต้องแลกมาด้วยสีสันและผิวสัมผัสที่ผิดแปลกจากเดิม
  1. ฟิล์มกันรอยเพิ่มความเป็นส่วนตัว: คุณสมบัติของฟิล์มกันรอยประเภทนี้ก็ตรงตามชื่อ โดยความพิเศษคือสามารถมองเห็นหน้าจอสมาร์ตโฟนได้แค่มุมด้านหน้าเท่านั้น ถ้าหากมองจากมุมข้างหน้าจอจะมืดสนิท ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวแก่ผู้ใช้งานได้มากขึ้น
  1. ฟิล์มน้ำไฮโดรเจน: หากใครต้องการฟิล์มกันรอยที่บางเฉียบ จนแทบมองไม่ออกว่าติดฟิล์มกันรอยลงไปแล้ว ฟิล์มน้ำไฮโดรเจนตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด นอกจากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ความบางจึงมาพร้อมกับประสิทธิภาพป้องกันรอยขีดข่วนสูง และหมดห่วงปัญหาฟิล์มขอบลอย หรือ ฟิล์มดันเคสโทรศัพท์ ที่สำคัญคือด้วยความบางเฉียบระดับนี้ สีสันและผิวสัมผัสย่อมไม่แตกต่างจากเดิม
  1. ฟิล์มกระจก: นี่คือฟิล์มที่มีประสิทธิภาพป้องกันการกระแทกและรอยขีดข่วนได้ดีที่สุด ด้วยเนื้อฟิล์มที่มีสารเคลือบพิเศษ ทำให้เมื่อหน้าจอมืดสนิท สามารถมองเห็นเงาสะท้อนของผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนเหมือนกระจกเงา นอกจากนั้น สารเคลือบนี้ยังทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันหน้าจอโทรศัพท์ โดยการติดฟิล์มกระจกสามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ
    • ฟิล์มกระจกเต็มจอ
    • ฟิล์มกระจกไม่เต็มจอ

ฟิล์มกระจกเหมาะกับใคร

ถึงแม้ฟิล์มกระจกทั้งฟิล์มกระจกเต็มจอและไม่เต็มจอจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการกระแทกและรอยขีดข่วนได้ดีกว่าฟิล์มกันรอยทั่วไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาก็สูงกว่าเล็กน้อยเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครบ้างที่จะคุ้มค่าในการลงทุนติดฟิล์มกระจก

  • สายปาร์ตี้: การต้องอยู่ในสถานที่ไฟมืดสลัว บวกกับสติที่ไม่ครบร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะฤทธิ์แอลกอฮอลล์ โอกาสที่โทรศัพท์จะตกหล่นจนหน้าจอแตกย่อมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้นสำหรับสายปาร์ตี้ การติดฟิล์มกระจกย่อมตอบโจทย์อย่างตรงจุด
  • นักเดินทางสายลุย: สำหรับไลฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบการเดินทาง ขึ้นเขาลงห้วย บุกป่าฝ่าดงเป็นชีวิตจิตใจควรที่จะนำโทรศัพท์ไปติดฟิล์มกระจกเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าจอโทรศัพท์แตกระหว่างออกทริป ซึ่งอาจเป็นเรื่องอันตรายได้
  • ผู้ประกอบอาชีพเสี่ยงภัย: ไม่ว่าจะวิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง ทหาร ตำรวจ หรืออาชีพใด ๆ ก็ตามที่ต้องทำงานอย่างสมบุกสมบัน ในสภาพแวดล้อมเสี่ยงภัย โอกาสที่โทรศัพท์จะตกแตกมีมาก จึงควรที่จะติดฟิล์มกระจกเพื่อป้องกันความเสี่ยง
  • ทุกคนที่อยากยืดอายุการใช้งานโทรศัพท์: ต่อให้จะไม่ได้มีไลฟ์สไตล์ตามที่กล่าวมา แต่ถ้าคุณอยากยืดอายุการใช้งานของโทรศัพท์คู่ใจให้ยาวนานขึ้น ป้องกันปัญหาหน้าจอแตก และมองว่าการลงทุนติดฟิล์มกระจก ไม่ว่าจะฟิล์มกระจกเต็มจอหรือไม่เต็มจอเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าการต้องเสียเงินซ่อมหน้าจอ ก็สามารถเลือกติดฟิล์มประเภทนี้ได้เช่นกัน
ข้อดีของฟิล์มกระจกเต็มจอ
ฟิล์มกระจกเต็มจอดีกว่าแบบไม่เต็มจออย่างไร 4

ฟิล์มกระจกเต็มจอ VS ไม่เต็มจอ

ถึงหัวข้อสุดท้ายที่จะเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกันแบบชัด ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าถ้าอยากติดฟิล์มกระจก ควรติดฟิล์มกระจกเต็มจอหรือไม่เต็มจอดี

ฟิล์มกระจกเต็มจอ

  • ข้อดี: ตามชื่อฟิล์มกระจกเต็มจอ เนื้อฟิล์มจะครอบคลุมไปทั่วทั้งหน้าจอ ทำให้สามารถป้องกันแรงกระแทกและรอยขีดข่วนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เหนือกว่าฟิล์มกระจกแบบไม่เต็มจอ นอกจากนั้นในแง่ความสวยงามก็ตอบโจทย์ เพราะจะไม่เห็นรอยขอบของฟิล์ม รวมถึงทำความสะอาดง่ายกว่าด้วยเช่นกัน
  • ข้อเสีย: ฟิล์มกระจกเต็มจอมีราคาแพงกว่าแบบไม่เต็มจอ อีกทั้งไม่ได้รองรับกับโทรศัพท์ทุกรุ่น มีเพียงรุ่นท็อปของแบรนด์ดังเท่านั้นที่ติดฟิล์มกระจกเต็มจอได้

ฟิล์มกระจกไม่เต็มจอ

  • ข้อดี: ราคาถูกกว่า และรองรับโทรศัพท์หลากหลายรุ่นกว่าฟิล์มกระจกเต็มจอ
  • ข้อเสีย: เนื่องจากฟิล์มกระจกแบบนี้ เนื้อฟิล์มจะไม่ครอบคลุมทั่วบริเวณหน้าจอ ประสิทธิภาพการป้องกันแรงกระแทกและรอยขีดข่วนก็น้อยกว่า โดยเฉพาะบริเวณขอบหน้าจอ นอกจากนั้นมีโอกาสที่พวกฝุ่นผงจะเข้าไปติดตามจุดที่ฟิล์มครอบคลุมไม่ถึง ซึ่งเป็นจุดที่ยากต่อการทำความสะอาด

ข้อดีข้อเสียเหล่านี้น่าจะช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่นับเรื่องราคา ฟิล์มกระจกเต็มจอก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าชัดเจน และถ้าหากสนใจสั่งซื้อฟิล์มกระจกเต็มจอ รวมถึงฟิล์มกันรอยประเภทอื่น ๆ ต้องที่ Vgadz ศูนย์รวมเคสมือถือ เคสกันกระแทก เคสใส ฟิล์มกันรอย และอุปกรณ์เสริมราคาพิเศษจากแบรนด์ดังชั้นนำให้คุณได้เลือกสรรเคสมือถือแบบไม่จำกัดรุ่น มาพร้อมกับดีไซน์และคุณภาพที่ตอบโจทย์การใช้งาน รับประกันของแท้ พร้อมส่งถึงบ้าน

ข่าวอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

รวมประเภทของฟิล์มกันรอยมือถือ

รู้จักประเภทของฟิล์มกันรอยมือถือ พร้อมเทคนิคการเลือกที่เหมาะสม

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่รักและถนอมหน้าจอมือถือ ทั้งยังรู้สึกแย่มาก ๆ ถ้าจะต้องเห็นรอยอันไม่พึงประสงค์บนห

อ่านเพิ่ม »

หน้าแรก

เข้าสู่ระบบ/สมัคร

Notify Payment

สอบถาม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซน์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซน์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซน์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก
0
No products in the cart.